บุกจับคลินิกเสริมความงาม 5 แห่ง หลังพบมีการใช้ซิลิโคนเถื่อน

บุกจับคลินิกเสริมความงาม 5 แห่ง หลังพบมีการใช้ซิลิโคนเถื่อน

นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า สืบเนื่องจากการจับกุมโรงงานเถื่อนลักลอบผลิตชิ้นส่วนซิลิโคนศัลยกรรมเสริมจมูก และหน้าผาก ใน จ.สุพรรณบุรี เมื่อช่วงเดือน ธ.ค.2565 โดยจากการสืบสวนพบว่า โรงงานดังกล่าวมีการจำหน่ายซิลิโคนให้กับคลินิกเสริมความงามนับสิบแห่ง ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด

ซึ่งการนำซิลิโคนที่ไม่ได้มาตรฐานเหล่านี้มาให้บริการเสริมความงาม อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้รับบริการได้ ดังนั้น เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในด้านระบบบริการสุขภาพ สบส.จึงสนธิกำลังร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ในพื้นที่ เข้าตรวจสอบสถานพยาบาลเอกชน ซึ่งมีเบาะแสว่านำซิลิโคนจากโรงงานเถื่อนมาให้บริการเสริมความงาม จำนวน 5 แห่ง ซึ่งมีความเชื่อมโยงกัน

“ตรวจค้นพบซิลิโคนเสริมจมูก เสริมคาง เสริมหน้าผาก และยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา รวมกันนับหมื่นรายการ ซึ่งจากการขยายผลตรวจสอบโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ และเจ้าหน้าที่ตำรวจพบว่า คลินิกทั้ง 5 แห่ง มีการจัดจ้างผลิตซิลิโคนเถื่อนจากโรงงานซิลิโคนใน จ.สุพรรณบุรี โดยเมื่อมีการแถลงผลการจับกุมโรงงานดังกล่าว ในเดือน ธ.ค. ส่งผลให้ผู้รับบริการบางรายตั้งข้อสงสัยว่าคลินิกมีการนำซิลิโคนเถื่อนมาให้บริการหรือไม่ ทางคลินิกจึงนำซิลิโคนเสริมความงามที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายมาแสดง แต่เมื่อประชาชนรับบริการศัลยกรรม ทางคลินิกกลับนำซิลิโคนที่ไม่ได้มาตรฐานมาให้บริการ” นพ.สุระกล่าว

นพ.สุระกล่าวว่า พนักงานเจ้าหน้าที่จึงดำเนินการตรวจยึดชิ้นส่วนซิลิโคนรูปจมูก ซิลิโคนหน้าผาก ซิลิโคนคาง ผลิตภัณฑ์ที่มีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 และพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ได้นับหมื่นชิ้น รวมมูลค่ากว่า 2.9 ล้านบาท

บุกจับคลินิกเสริมความงาม 5 แห่ง หลังพบมีการใช้ซิลิโคนเถื่อน

โดยพนักงานเจ้าหน้าที่กองกฎหมายของ สบส.ได้แจ้งข้อหาการกระทำผิดกับคลินิก ดังนี้

1.กรวินคลินิก สาขางามวงศ์วาน ขณะทำการตรวจสอบพบซิลิโคนเถื่อน และผลิตภัณฑ์ที่ผิดพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 จำนวน 185 รายการ และได้ยึดเวชระเบียน 125 ราย ซึ่งขณะตรวจสอบสถานพยาบาล เปิดทำการไม่ตรงตามที่ได้รับอนุญาต สบส. โดยกองกฎหมายมอบให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรีออกคำสั่งปิดสถานพยาบาลชั่วคราว ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541

2.กรวินคลินิก สาขาระยอง พบชิ้นส่วนซิลิโคนรูปจมูก 489 ชิ้น ซิลิโคนคาง 87 ชิ้น และผลิตภัณฑ์ที่มีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 จำนวน 9 รายการ พร้อมตรวจยึดเวชระเบียน จำนวน 16 ราย ซึ่งขณะทำการตรวจสอบสถานพยาบาลพบความผิด ดังนี้

  • 2.1 ไม่พบผู้ดำเนินการสถานพยาบาลอยู่ในสถานพยาบาลมีความผิดตามมาตรา 34 (4) แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541
  • 2.2 ไม่จัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลตามวิชาชีพและจำนวนที่กฎหมายกำหนด และจัดให้มีเครื่องมือ เครื่องใช้ยา และเวชภัณฑ์ที่จำเป็นประจำสถานพยาบาล มีความผิดตามมาตรา 35 (1) และ (2) แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 และ
  • 2.3 สถานพยาบาลโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุมัติมีความผิดตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 สบส. โดยกองกฎหมายมอบให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยองดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

3.กรวินคลินิก สาขาขอนแก่น พบชิ้นส่วนซิลิโคนรูปจมูกจำนวน 3,144 ชิ้น ซิลิโคนหน้าผาก 27 ชิ้น ซิลิโคนคาง 777 ชิ้น ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาจำนวน 5 รายการ พร้อมยึดเวชระเบียน จำนวน 7 ราย ซึ่งขณะทำการตรวจสอบสถานพยาบาลพบความผิด ดังนี้

  • 3.1 ไม่พบผู้ดำเนินการสถานพยาบาลอยู่ในสถานพยาบาลมีความผิดตามมาตรา 34 (4) แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541
  • 3.2 ไม่จัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลตามวิชาชีพและจำนวนที่กฎหมายกำหนดมีความผิดตามมาตรา 35 (1) แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 และ
  • 3.3 เปลี่ยนแปลงห้องผ่าตัดจากเดิม 1 ห้อง เป็น 2 ห้อง แตกต่างจากที่ระบุไว้ตามที่อนุญาต มีความผิดตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541

สบส. โดยกองกฎหมายมอบให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นดำเนินการตามกฎหมาย ทั้งนี้ ในส่วนการโฆษณา สบส. โดยกองกฎหมายได้ดำเนินการตรวจสอบกรกวินคลินิก ทั้ง 32 สาขา พบว่าสถานพยาบาลมีการโฆษณาโดยไม่ขออนุมัติ ซึ่งมีความผิดตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 พนักงานเจ้าหน้าที่จะประสานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดดำเนินการพิจารณาเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายต่อไป

นพ.สุระกล่าวว่า ซิลิโคนเสริมความงาม เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งใช้กับร่างกายของมนุษย์ การที่จะนำอุปกรณ์ทางการแพทย์ประเภทใดๆ ก็ตามมาให้บริการ อุปกรณ์ทางการแพทย์จะต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐาน และได้รับการขึ้นทะเบียนจากจาก อย. เพื่อยืนยันความปลอดภัยเสียก่อน หากนำซิลิโคนที่ไม่ได้มาตรฐานมาให้บริการ ย่อมมีความสุ่มเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพ ร่างกายของผู้รับบริการ ทั้งการอักเสบ ติดเชื้อ หรือเสียโฉม สบส.จึงขอเน้นย้ำให้ผู้ประกอบกิจการ และผู้ดำเนินการสถานพยาบาล กำกับดูแลมาตรฐานของสถานพยาบาลให้ถูกต้อง ตามที่กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด หากพบว่าสถานพยาบาลแห่งใดมีการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน อาทิ การให้บุคคลที่มิใช่แพทย์มาให้บริการ หรือนำยาและเวชภัณฑ์ที่ไม่ผ่านการรับรองจาก อย.มาให้บริการ สบส.จะดำเนินการเอาผิดตามกฎหมายโดยไม่มีการละเว้นแต่อย่างใด ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบ หรือมีเบาะแสการกระทำผิดกฎหมายของโรงพยาบาลเอกชน/คลินิก ในเขตกรุงเทพฯ สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน สบส. 1426 แต่หากอยู่ในส่วนภูมิภาค ก็สามารถแจ้งได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ ตามวันและเวลาราชการ

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ mayalandbelize.com

แทงบอล

Releated